แนวคิดเกษตรอินทรีย์
แนวคิดเกษตรอินทรีย์ในการทำนา เปรียบเทียบความเป็นมาจากเมื่อสมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน
การทำนาโดยไม่ใช้ ปุ๋ย เป็นคำไทยดั้งเดิม "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" ในความรู้สึก "ข้าพเจ้า"
ยังจำภาพในอดีตได้ดี เข้าฤดูการทำนาประจำปี ประมาณเดือน กันยายน ช่วงปลายฝน ชาวนา
เริ่มออกทำการไถนาด้วยเครื่องมือการทำนาคันไถเทียมควาย อย่างดีก็จ้างรถไถนาที่ในอำเภอหนึ่ง
จะมีรถไถนาที่รับจ้างอยู่ไม่กี่คัน แต่นี่กระมังรถไถนาที่เป็นเครื่องจักรชิ้นแรกในการทำนาคงเป็น
สาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติต้องเปลี่ยนแปลงไปมากจนถึงปัจจุบัน
ดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุในดิน ต้องเหลือแต่พื้นดินที่ขาดธาตุอาหารดี ๆ เมื่อมี ปุ๋ยเคมี
ดินที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุในดิน ต้องเหลือแต่พื้นดินที่ขาดธาตุอาหารดี ๆ เมื่อมี ปุ๋ยเคมี
เข้ามา เกษตรกรเริ่มคล้อยตามเหล่าพ่อค้าขายอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์เกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับ
ข้าว ใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลง ที่มีการแข่งขันกันของผู้ผลิต ชนิดที่แรงขึ้นเพิ่มประสิทธิภาพที่เหนือ
กว่าคู่แข่งขัน ทำให้แมลงศัตรูพืชเริ่มมีการพัฒนาสายพันธุ์ และสร้างภูมิต้านทานสารเคมี (ดื้อยา)
กุ้งหอย ปูปลาที่เคยเป็นอาหารชั้นดีสำหรับชาวนาต้องพลอยสูญสิ้นไปกับสารเคมี จากปลาตัวใหญ่
ใส่ในฆ้องเพียงตัวเดียวกินกันได้ทั้งครอบครัว แต่เดียวนี้ จะหาปลาเพียงตัวเล็กตัวน้อยแทบจะไม่มี
ให้กิน ถึงกับต้องนำพันธุ์ปลามาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารและเป็นอาชีพใหม่กันต่อไป
ปุ๋ยเคมี ที่ใช้หว่านลงไปในพื้นนา ส่วนที่เหลือตกค้างใน คือธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากชาวนา
ปุ๋ยเคมี ที่ใช้หว่านลงไปในพื้นนา ส่วนที่เหลือตกค้างใน คือธาตุฟอสฟอรัส เนื่องจากชาวนา
ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียนธาตุเคมีที่เหลือตกค้างกลายเป็นตัวปรับสภาพของพื้นดินให้เสื่อมลง
ประสิทธิภาพในการรับปุ๋ยเริ่มน้อยลง จากการที่ใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตรครั้งแรก ซึ่งเป็นการเพิ่ม
ผลผลิตจำนวนมากให้แก่เกษตรกร เกษตรกรได้ทำตามกัน เริ่มซื้อปุ๋ยเคมี เข้ามาให้ปุ๋ยกับนาข้าว
ปุ๋ยเคมี เริ่มมีผู้นิยมใช้จำนวนมาก ราคาถูกปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลผลิตกับลดลง
ไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดจากสภาพของดินที่เลวร้าย
แมลงศัตรูพืชแปลกใหม่ที่เพิ่มขึ้นนอกจากศัตรูพืชเดิม ๆ เช่น ปูนา หนูนา นกกระจอก
แมลงศัตรูพืชแปลกใหม่ที่เพิ่มขึ้นนอกจากศัตรูพืชเดิม ๆ เช่น ปูนา หนูนา นกกระจอก
นกกระจาบ ตั๊กแตน ที่ถูกกำจัดกันโดยวิธีธรรมชาติ นกกระจิบจะกระโดดไปมาบนรวงข้าวจิกกิน
ตั๊กแตน แมลงปอบินโฉบเฉี่ยวหากินแมลงเล็ก ๆ ปลาผิวน้ำกระโดดเด้งผิวน้ำกินแมลง เหนือผิวน้ำ
เล็กน้อยยังมีแมลงมุมที่คอยจับเพลี้ยกินเป็นอาหาร สิ่งเหล่านี้หายไปจากสารเคมีที่กำจัดฆ่าแมลง
วงจรธรรมชาติหมดไป ปัจจุบันมีแมลงละบาดหนัก เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ลงที่ไหน
เสียหายที่นั่น สร้างความเสียหายขนาดหนัก เป็นผลมากจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิด
ทางการเกษตร ที่เรียกว่า "เกษตรเคมี"
การทำนาจากรุ่นสู่รุ่น ชาวนารุ่นเดิมเริ่มเท่าแก่ชราภาพ หมดเรี่ยวแรงทำนาหากินแบ่งที่นา
การทำนาจากรุ่นสู่รุ่น ชาวนารุ่นเดิมเริ่มเท่าแก่ชราภาพ หมดเรี่ยวแรงทำนาหากินแบ่งที่นา
เป็นแปลงเล็กแปลงน้อยให้สู่ลูกหลาน คนละ 20-30 ไร่ บ้างก็แปรเปลี่ยนเป็นเงิน ย้ายถิ่นฐาน
ทำมาหากินเข้าเมืองหลวงบ้างก็ส่งบุตรหลานเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานครบ้าง
ต่างจังหวัดบ้าง ชาวนาเริ่มเปลี่ยนสภาพจากพ่อแม่จนถึงลูกลาน กลายเป็นการทำนาที่ไม่ใช่ชาวนา
ที่แท้จริง แต่ต้องทำนาเพื่อมีข้าวไว้กิน หรือส่งขายโดยเกษตรรุ่นลูกรุ่นหลาน บางคนทำนาทาง
โทรศัพท์ คนที่เป็นเกษตรกรชาวนาจริง ๆ ก็คือคนที่มีอาชีพรับจ้างทำนา ตามความต้องการของ
ลูกหลานเจ้าของนานั่นเอง
แนวคิดทางการเกษตรถูกแบ่งเป็น 4 แนวคิด หลังจากสิ่งเลวร้ายทางเกษตรกรรมเริ่มเข้ามา
แนวคิดทางการเกษตรถูกแบ่งเป็น 4 แนวคิด หลังจากสิ่งเลวร้ายทางเกษตรกรรมเริ่มเข้ามา
ยังมีคนคนกลุ่มหนึ่งที่เกิดจากการเกษตรดั้งเดิม และได้รับการอบรมแนวทางการเกษตรจากสถาบัน
การศึกษาเกษตรศาสตร์ ที่ต้องฟื้นฟูแนวเกษตรดั้งเดิมเพื่อดำรงค์ไว้ สำหรับที่ดินทำกินที่ยัง
อุดมสมบูรณ์ดังเดิม
1. แนวคิดทางเกษตรเคมี คือเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่ใช้ ปุ๋ยเคมี บำรุงพืชเป็นหลัก แนวคิดนี้
1. แนวคิดทางเกษตรเคมี คือเกษตรกรส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่ใช้ ปุ๋ยเคมี บำรุงพืชเป็นหลัก แนวคิดนี้
ยังถูกฝังแนวคิดว่าปุ๋ยเคมีที่เติมลงไปในดินคืออาหารสุดยอดของพืช ถ้าพืชไม่ใส่ปุ๋ยแล้วคงไม่ได้
ผลผลิต
2. แนวคิดทางเกษตรอินทรีย์เคมี คือกลุ่มเกษตรกรที่เริ่มเรียนรู้เรื่องการบำรุงดิน บำรุงพืชใด้ดีขึ้นด้วย
2. แนวคิดทางเกษตรอินทรีย์เคมี คือกลุ่มเกษตรกรที่เริ่มเรียนรู้เรื่องการบำรุงดิน บำรุงพืชใด้ดีขึ้นด้วย
ปุ๋ยอินทรีย์ การฟื้นสภาพของดินให้เหมือนการเปิดป่าใหม่ดั้งเดิม การเรียนรู้และเผยแพร่วิชาการเกษตร
อินทรีย์มากขึ้น และใช้ ปุ๋ยเคมี ให้น้อยลงตามความจำเป็นของพืช ส่วนใหญ่ที่ยังไม่ค่อยยอมรับ
เกษตรอินทรีย์คือ เกษตรกรทำนาข้าว
3. แนวทางเกษตรอินทรีย์ เป็นเกษตรที่เปลี่ยนแปลงวิธีการบำรุงดินและบำรุงพืชโดยไม่ใช้ ปุ๋ยเคมี
3. แนวทางเกษตรอินทรีย์ เป็นเกษตรที่เปลี่ยนแปลงวิธีการบำรุงดินและบำรุงพืชโดยไม่ใช้ ปุ๋ยเคมี
ใช้ธาตุอาหารพืชจาก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยมีพื้นดินทำกินเล็ก ๆ
หรือเป็นประเภทชาวสวนที่ใช้พื้นที่การเกษตรมากนัก
4.แนวทางเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ เป็นแนวทางเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางพระราชดำริเกษตรพอเพียง
4.แนวทางเกษตรอินทรีย์ธรรมชาติ เป็นแนวทางเกษตรอินทรีย์ตามแนวทางพระราชดำริเกษตรพอเพียง
ซึ่งเกิดจากกลุ่มคนที่เข้ารับการอบรมเรียนรู้วิธีบำรุงดินโดยธรรมชาติ ใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ทางธรรมชาติ
ไม่ใช้สารเคมีเลย แต่จะได้เฉพาะ เกษตรกรที่ทำการเกษตรเพียงกินอยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ ยังไม่มีความนิยม
มากนัก
การใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ กับนาข้าว จาการเปลี่ยนแนวทางการเกษตรมีเป็นเกษตรแบบอินทรีย์ไม่ใช่
การใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ กับนาข้าว จาการเปลี่ยนแนวทางการเกษตรมีเป็นเกษตรแบบอินทรีย์ไม่ใช่
เรื่องง่ายที่กระทำอย่างรวดเร็ว เนื่องมากจากผลการทำนาแบบใส่ ปุ๋ยเคมี อย่างต่อเนื่องนานกว่า 5 ปี
อาการเสื่อมของดินไม่สามารถจะปรับโครงสร้างได้ในเวลาสั้น จึงต้องใช้หลักการที่ว่าค่อยเป็นค่อยไป
เริ่มตั้งแต่การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด (วิธีการปลูกพืชเพิ่มไนโตเจนให้แก่ดิน)
ปุ๋ยชีวภาพ ช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืช หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ทางการค้าใส่ในดิน โดยใช้ผสมกับ ปุ๋ยเคมี
ที่ใช้อยู่เดิม ในอัตราส่วน 50/50 ตามสัดส่วนน้ำหนัก ปุ๋ย แล้วค่อย ๆ ลดอัตราส่วนของปุ๋ยเคมีลง
ทีละน้อย ใช้เวลาในการบำรุงดิน 3-5 ปี ผลผลิตจะค่อย ๆ ดีขึ้น การช่วยบำรุงดินโดยไถกลบตอซังเดิม
หรือปลูกพืชอายุสั้นหมุนเวียนนอกฤดูทำนาสลับสับเปลี่ยนไปเพื่อปรับความสมดุลของธาตุอาหารหลัก
ในดิน รวมถึงการลดอัตราส่วนของสารเคมีกำจัดแมลงและศัตรูพืชโดยใช้สารอินทรีย์ การปรับเปลี่ยน
วิถีทางการทำนาแบบนี้เป็นการเปลี่ยนแนวทางแบบผสมผสานในช่วงแรก 3-5 ปี หรือเรียกว่า "เกษตรอินทรีย์-เคมี"
ธาตุอาหารหลักของพืช เกษตรอินทรีย์ควรคำนึงถึงผลสำเร็จที่ใช้ธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดิน
ธาตุอาหารหลักของพืช เกษตรอินทรีย์ควรคำนึงถึงผลสำเร็จที่ใช้ธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดิน
ที่สมบูรณ์ หรือการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารในดิน ในอัตรา 20% ที่มีอยู่ใน ปุ๋ยอินทรีย์ การให้ธาตุ
อาหารเสริมให้ถูกช่วงเวลาที่พืชต้องการให้ได้อัตราส่วนที่พอเหมาะ การให้ธาตุอาหารหลักทางใบ
เพื่อทดแทนธาตุอาหารหลักจากปุ๋ยเคมีผ่านดิน ในอัตราส่วนที่พอเหมาะเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อไป